New Total Strategy Package : กลยุทธเพื่อการเติบโต

 ตั้งแต่ ปี 2557  ถือเป็นก้าวใหม่ที่ ดร.ดนัย เทียนพุฒ ได้นำเสนอ โปรแกรมการจัดทำกลยุทธแนวใหม่ให้กับธุรกิจ ด้วย New Total Straetgy Package 

  การพัฒนา การจัดทำวิสัยทัศน์ และภารกิจ  กับกลยุทธด้วย BSC and KPIs  จากการที่เราเป็นผู้นำในการจัดทำ Balanced Scorecard (BSC) และ KPIs (Key Performance Indicators)  ที่โดดเด่นของเมืองไทย

 ปีนี้ได้เกิดก้าวใหม่ในการปรับเปลี่ยนแปลงรูป (Transformation) การจัดทำกลยุทธซึ่ง 15 ปี ที่จัดทำมาได้มีการทดลองและพัฒนาใหม่ เกิด แพ็คเกจกลยุทธแบบครบวงจร และทำได้ดียิ่งขึ้น

สนใจ ! เริ่มต้นอย่างไร-ทำต่อวิธี ไหน-สำเร็จหรือเห็นผลได้เมื่อไร.....



















ดร.ดนัย เทียนพุฒ สรุปไว้ว่าการจัดทำกลยุทธธุรกิจรูปแบบใหม่ ประกอบด้วย

หลักสูตรที่ 1  คิดใหม่เครื่องมือวิเคราะห์ปัจจัยรุมล้อมธุรกิจ          (Multi-Business Analysis)

การศึกษาในทางกลยุทธ ที่ทำกันมาตลอดในขั้นตอนแรกศือการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของธุรกิจ ทั้งสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก ซึ่งในความเป็นจริง นักกลยุทธในช่วงหลัง ๆ บอกว่าโดยเฉพาะ Kaplan &Norton ได้บอกอย่างชัดเจนว่า  ในแต่ละขั้นตอนของการจัดทำกลยุทธต้องเลือกเครื่องมือให้เหมาะสมมิฉะนั้นจะเกิดการผิดพลาดทำให้ ธุรกิจมีกลยุทธที่ไม่สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม มีหลายเรื่องมือด้วยกัน แต่ในเมืองไทยที่ธุรกิจนิยมใช้ มักจะคุ้นกับ SWOT Analysisการวิเคราะห์ PEST(Politic, Economic, Social and Technology) ,  5 Forces Model, BCG Matrix,   7S Framework ฯลฯ ในขณะที่ปัจจุบันสภาพทางธุรกิจเปลี่ยนไปสูงอย่างไม่เคยมีมาก่อนจาก ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่รวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค และการเกิดขึ้นของตลาดเกิดใหม่ ฯลฯ  จึงเกิดการพัฒนาเครื่องมือในการวิเคราะห์ความไม่แน่นอน  และความสับสนวุ่นวาย  หลักสูตร    คิดใหม่ เครื่องมือวิเคราะห์ปัจจัยรุมล้อมธุรกิจ (Multi-Business Analysis) จึงนำเสนอเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพให้ธุรกิจมีทางเลือกมากขึ้น เช่น VUCA Analysis และ META SWOT (พร้อม VRIO Model)

ระยะเวลา    1 วัน

ภาคเช้า
“อุ่นเครื่อง”
09.00-10.15 น.


 1. อันตรายของธุรกิจในภูมิทัศน์ธุรกิจที่เปลี่ยนแปลง
 2. Wrap up: เครื่องมือเดิมที่คุ้นเคย 
-SWOT Analysis, 5 Forces Model, BCG Matrix


“ไอเดียใหม่”
10.30-12.00 น.


 3. ทำความรู้จัก VUCA World & VUCA Analysis
- ทีมาของแนวคิด VUCA World & Analysis
- วิธีการวิเคราะห์แบบ VUCA
- แนวทาง  ตัวอย่าง การนำไปใช้ และแบบฟอร์ม


 ภาคบ่าย
 13.00-14.45 น.

4. เปลี่ยนวิธีวิเคราะห์ไปสู่การวิเคราะห์ SWOT กำลังสอง ...“META SWOT”
- จุดอ่อนของ SWOT Analysis
-  แนวคิดและวิธีการของ META SWOT
1)การวิเคราะห์องค์กรและการแข่งขัน
2) การจัดทำ Competitive map and Competitive advantage
-  การวิเคราะห์ด้วย  VRIO Model (Value, Rare, Imitability and Organization)
1) การวิเคราะห์ด้วย VRIO Model
- การนำข้อมูลมาตัดสินใจจัดทำ Strategy Map 
- ตัวอย่างและแบบฟอร์ม

15.00 – 16.00 น.

5. การใช้กับการวางแผนกลยุทธ
1) การนำมาใช้กับระบบกลยุทธ “BSC &KPIs”
2) การใช้กับระบบกลยุทธใหม่ “Corporate Strategic Leadership”
สรุป  ถกแถลงแลกเปลี่ยนเรียนรู้

วิทยากร  ดร.ดนัย เทียนพุฒ
line ID : thailand081
email: drdanait@gmail.com               
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
หลักสูตรที่ 2. กำหนดวิสัยทัศน์ใหม่แห่งอนาคตด้วย
                       Scenario Planning
 ....ก้าวใหม่ในวิธีการกำหนดอนาคตและสร้างทิศทางขององค์กรธุรกิจ… 
ในการวางแผนกลยุทธธุรกิจ แต่เดิมมักนิยมที่จะทำการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจ        ไม่ว่าจะเป็นแรงผลักดัน 5 ประการ (5 Forces Model ) ของพอร์เตอร์  หรือ การพิจารณา BCG Matrix  และทำการวิเคราะห์ SWOT Analysis พร้อมกันไปด้วยแนวคิดของการหา “โอกาสทางการตลาด (Business Opportunities)
แต่ในปัจจุบัน  “ภูมิทัศน์ทางธุรกิจ (Business Landscape)” มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเป็นความสับสนไม่แน่นอนซึ่งไม่สามารถคาดการณ์ได้ จึงเป็นสิ่งที่ผู้นำที่ผู้นำแห่งวิสัยทัศน์ (Strategic Visionary)  นักวางแผนกลยุทธอยากจะหาวิธีการหรือเครื่องมือใหม่สำหรับการวางแผนจัดการความเสี่ยงและความไม่แน่นอนดังกล่าว
ปี เตอร์ ดรักเกอร์ บอกไว้ว่า  " The greatest danger in times of the turbulence is not the turbulence; it is to act with yesterday's logic."
ดังนั้น “ การวิเคราะห์ทัศนภาพ (Scenario Analysis) เป็นเครื่องมือที่เหมาะสมมากที่สุดในการจัดการความเสื่ยงและความไม่แน่นอนสำหรับธุรกิจที่จะภาพอนาคตอย่าชัดเจนและจัดการได้”
เรื่องราวของ การวิเคราะห์ทัศนภาพ  การวางแผนทัศนภาพ  หรือ การวางกลยุทธทัศนภาพ  
โดยเนื้อหา เป็นการเน้นถึงกระบวนการคิดสร้างและพัฒนาทัศนภาพ (Generative Scenario Thinking Process ) ซึ่งจะเรียนทั้ง "แนวคิดของ Scenario   กระบวนการสร้าง  2x2 Scenario Matrix "ที่นำไปสู่การตัดสินใจทิศทางในอนาคตของบริษัท เช่น "Scenario 2015 ของธุรกิจ" เพื่อนำสู่การกำหนดวิสัยทัศน์ (Corporate Vision) หรือ การทบทวนกลยุทธที่เหมาะสม  
ระยะเวลาการอบรม :  1 วัน
เนี้อหาการอบรม
9.00  -10.30 น.  1.  แนวคิด ใหม่ ในการสร้างวิสัยทัศน์ใหม่แห่งอนาคต ด้วย Scenario Planning                   
                                     - Scenario Planning : คืออะไร  เกี่ยวกับอะไร และจะใช้อย่างไร
                                         ในการกำหนดวิสัยทัศน์ของธุรกิจ 
                          2. ตัวอย่างความสำเร็จของผู้บุกเบิก Scenario Planning
                               -Shell Exploring the Future and New Lens Scenarios
10.45-12.00    3. เทคนิคในวิธีการของ Scenario Planning
                               -กระบวนการสร้าง 2x2 เมทริกซ์ทัศนภาพ    
13.00-14.45  น  * ฝึกปฏิบัติในเทคนิคของ Scenario Planning                            
                                    จนสามารถสร้าง"เมทริกซ์ทัศนภาพแห่งอนาคต"
                      4.การพัฒนาวิสัยทัศน์ใหม่ จาก "ทัศนภาพที่แท้จริงของธุรกิจ" ที่เป็นไปได้
                                    ใน  4 ทัศนภาพแห่งอนาคต
                              -วิสัยทัศน์ คือ อะไร  มีองค์ประกอบอย่างไร  และลักษณะวิสัยทัศน์ที่ดี      
 -รูปแบบในการสร้างวิสัยทัศน์ใหม่แห่งอนาคต
                              -การจัดทำ Value Based Matrix (Vision-Mission –Value Matrix)
15.00 -16.00      5.การเชื่อมโยง วิสัยทัศน์ สู่กระบวนการกำหนดกลยุทธ (Strategy Formulation)
                                      -Strategy in Practice
                       6.บทเรียนและข้อแนะนำจากประสบการณ์พัฒนาวิสัยทัศน์ธุรกิจ        
-----------------------------------------------------------------------------------------------
หลักสูตรที่ 3 กลยุทธนวัตกรรมฝ่าทะลวง (Disruptive Innovation Strategy)                  
              การดำเนินธุรกิจเกือบทุกกิจการในปัจจุบัน โดยเฉพาะในท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมธุรกิจ ที่มีความผันผวน ความไม่แน่นอน การเกิดเหตุการณ์วิกฤต ที่ไม่อาจทำนายได้ และไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดเมื่อใด  ธุรกิจต่างแสดงหา “โอกาสใหม่ทางการตลาด –แต่ก็ยากกว่าเดิม”  “การสร้างตลาดใหม่ โดยเฉพาะการเปิดเสรีทางการค้าของ AEC 2015” หรือตลาดของประเทศเกิดใหม่อย่างแท้จริง ที่เรียกว่า ตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market)” เป็นต้น
             ธุรกิจต้องการแสวงหาโอกาสใหม่ด้วยการใช้ กลยุทธนวัตกรรมฝ่าทะลวงในการสร้างตลาดใหม่  ด้วย “นวัตกรรมใหม่ (New Innovation)  และ นวัตกรรมเชิงกลยุทธ (Strategic Innovation)”  ให้ธุรกิจเติบโตจากเดิมมากว่า  100 %   .ในด้าน ยอดขาย  การขายตลาดและฐานการผลิต   การสร้างแบรนด์ระดับโลก และการเพิ่มกำไร
              ด้วยประสบการณ์ในด้านกลยุทธ และการพัฒนานวัตกรรมทางธุรกิจ จึงเล็งเห็นความเชื่อมจากการปรับใหม่ของธุรกิจ  นวัตกรรม  และกลยุทธ ได้ พัฒนาหลักสูตร “กลยุทธนวัตกรรมฝ่าทะลวง (Disruptive Innovation Strategy)”  ในการโจมตีผู้นำตลาด ด้วย การตลาดที่จู่โจมแบบโจรสลัด (Pirate Innovation)” เหมือน ที่ Steve Jobs บอกไว้ว่า “ถ้าเป็นโจรสลัดได้ทำไมจึงต้องเข้าร่วมกับกองเรือ”  การใช้กลยุทธฝ่าทะลวงเพื่อหา ทั้งลูกค้าใหม่ หรือ ตลาดใหม่ และ ตลาดใหม่ที่ผู้นำตลาดไม่สนใจ เป็นความท้าทายใหม่ทางกลยุทธที่ผู้นำธุรกิจต้องหยิบฉวยมาใช้ก่อนใคร

ระยะเวลา  1 วัน
09.00-10.15 น.
1.แนวคิดและที่มาของกลยุทธนวัตกรรมฝ่าทะลวง  “Disruptive Innovation Strategy”
-ทบทวน กลยุทธเดิม ของผู้บริหารธุรกิจและนักการตลาดในการสร้างโอกาสทางธุรกิจ   เช่น  
การกำหนดตำแหน่งในการแข่งขัน และตลาดที่ดึงดูดให้เข้ามาลงทุนด้วย MA/C  (Market Attractiveness/Competitive Position), การวิเคราะห์สัญญาณหรืออาการธุรกิจ ด้วย BCG Matrix ,
การใช้ความสามารถหลักในการแข่งขัน (Core Competency) และสุดท้ายๆ   “ กลยุทธน่านน้ำสีฟ้า คือ การออกทะเลไปหาโอกาสใหม่  แต่ไม่ได้ป้องกัน-ฉลาม หรือโจรสลัด” 
ทั้งหมดนี้ไม่สามารถใช้ได้อย่างเหมาะสมกับการแข่งขันในปัจจุบัน...
ธุรกิจต้องมีกลยุทธฝ่าทะลวงใหม่

10.30-12.00น.
2.ธุรกิจกับการพัฒนาวิธีใหม่ในการสร้างโอกาสใหม่ และตลาดที่ไม่เคยคิดถึงด้วย
“นวัตกรรมฝ่าทะลวง (Disruptive Innovation)
 -ที่มาของ “ทฤษฎีนวัตกรรมฝ่าทะลวง  สำหรับการนำมาใช้ในธุรกิจ
-วิธีการวิเคราะห์ “นวัตกรรมฝ่าทะลวง” ตามแบบของ Harvard
-รูปแบบและ โมเดลของ “นวัตกรรมฝ่าทะลวง” ใน 3 รูปแบบ(การฝ่าทะลวงตลาดใหม่ การย้อนลงตลาดที่ผู้นำตลาดไม่มองถึง ,และการตลาดที่จู่โจมแบบโจรสลัด)
3. การใช้กลยุทธนวัตกรรมฝ่าทะลวงต้องปรับโมเดลธุรกิจใหม่ที่เรียกว่า
“นวัตกรรมโมเดลธุรกิจ (Business Model Innovation)
-แนวคิด การจัดทำ และตัวอย่างนวัตกรรมโมเดลธุรกิจ
-แบบฟอร์ม “นวัตกรรมโมเดลธุรกิจ”

13.00-14.30 น.
ฝึกปฏิบัติ    การวิเคราะห์สร้าง “กลยุทธนวัตกรรมฝ่าทะลวง” และจัดทำ “นวัตกรรมโมเดลธุรกิจ”

14.45-16.00 น.
4.บทสรุป การบูรณาการ New Total Strategy Package ไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจและการตลาด

วิทยากร ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Line ID :thailand081
www.facebook.com/Innovation.th           
email: drdanait@gmail.com 
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หลักสูตรที่ 4   Strategy in Practice: BSC Update Version

             เปิดฉากการจัดการกลุยทธในภาวการณ์แข่งขันที่ต้องการเครื่องมือใหม่ทางกลยุทธ ซึ่งได้มีการพูดถึงกันอย่างกว้างขวางทั้ง Scenario Based Planning,  VUCA Analysis,  META SWOT และ Disruptive Innovation Strategy  ดังนั้นที่บูรณาการทั้งกลยุทธและใช้เครื่องมือทางกลยุทธที่เหมาะสมในแต่ละขั้นตอนของการวางแผนกลยุทธ หรือการวางแผนธุรกิจ ประสบการณ์อย่างยาวนานในการริเริ่ม และพัฒนา ระบบ Balanced Scorecard & KPIs หลักสูตรนี้ได้รับความนิยมจากธุรกิจในการจัดสัมมนาภายในบริษัทอย่างต่อเนื่องมาตลอดทศวรรษ ปัจจุบันได้มี การ Update Versionของ BSC & KPIs ให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลาเช่นกันโดยเฉพาะการเน้นในภาคปฏิบัติ
ระยะเวลา 1 วัน
09.00–10.15 น.
1.แนวคิดของ Balanced Scorecard (BSC) และ KPIs เวอร์ชั่นใหม่
-ความเป็นมาและพัฒนาล่าสุดของ BSC & KPIs พร้อมโมเดล BSC สู่การปฏิบัติของธุรกิจ

10.30–12.00 น.
2. “Strategy Maps” หรือแผนที่กลยุทธจำเป็นหรือสำคัญอย่างไรในการจัดทำ BSC
- ธุรกิจหรือองค์กรได้คุณค่าทางยุทธศาสตร์/กลยุทธอย่างไรจาก Strategy Maps และ Corporate KPIs
3. ยุทธวิธีที่เหมาะสมในการจัดทำ “Strategy Maps”
- การจัดทำ Strategy Maps ด้วยโมเดลกลยุทธ (S-Model)
- ตัวอย่างการจัดทำ Strategy Maps
-วิธีการกระจาย Strategy Maps สู่ฝ่ายงานต่าง ๆ
13.00 – 14.45 น.
4. หลักการและแนวคิดที่ถูกต้องของ KPIs ที่ใช้วัดหน่วยงานธุรกิจหลักและหน่วยงานสนับสนุน
-แนวคิดและโมเดล KPIs ใหม่ที่เรียกว่า“Six KPIs”
-การพัฒนากลยุทธ (Strategy) เป้าหมาย KPIs ระยะ3 ปี (The 3yrs KPIs-Target) การจัดทำ KPIs
ฝ่ายงานและรายบุคคล (Department & Personal KPIs)
กิจกรรมฝึกปฏิบัติ :การจัดทำกลยุทธและดัชนีวัดความสำเร็จธุรกิจหรือฝ่ายงาน
 15.00    15.00-16.00น.
5. ข้อเสนอในวิธีการตรวจสอบความสำเร็จของ BSC แบบ ครบวงจร
-ประสบการณ์ในการริเริ่มและล้ำหน้าด้าน Balanced Scorecard & KPIs
วิทยากร ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Line ID :thailand081
www.facebook.com/Innovation.th        
email: drdanait@gmail.com




---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หลักสูตรที่ 5 : The New Six KPIs (Key Performance Indicators) :
                       6 ดัชนีใหม่ของการวัดกลยุทธ
           
              การจัดการเชิงกลยุทธ (Strategic Management)  ต้องยอมรับว่า ในช่วงเกือบ 2 ทศวรรษ  ที่ผ่านมานับตั้งแต่  Balanced  Scorecard  ได้ปรับเปลี่ยนการจัดการกลยุทธแบบเดิม มาสู่การจัดการกลยุทธอย่างสมดุลโดยเฉพาะการมีระบบการวัดกลยุทธที่แตกต่างไปจากเดิมที่เป็น “การควบคุมกลยุทธ (Strategic Control)” ซึ่งเสนอให้มี การวัดมิติด้านที่เป็นการเงิน (Financial) กับไม่ใช่การเงิน (Non Financial)  โดยมีดัชนีนำและดัชนีตาม
ในการพัฒนาการวัดกลยุทธของเมืองไทย  ได้เกิดการริเริ่มเบื้องต้นด้วยการนำ  “ดัชนีวัดผลสำเร็จของธุรกิจ (Key Performance Indicators)” เข้ามาใช้วัดกลยุทธ ตามแนวคิด BSC ทั้ง 2 มิติ ใน 4 ด้าน คือ ด้านการเงิน ด้านลูกค้า ด้านกระบวนการภายใน และ ด้านการเรียนรู้และเติบโตหรือ นวัตกรรม
อย่างไรก็ตาม ในปี 2556  ได้เริ่มให้มีการวัดความเสร็จของกลยุทธในอีกรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า  “The New Six KPIs Method” จึงเป็นที่มาของหลักสูตรสุดท้ายใน  “Total Strategy package”
ระยะเวลา  1 วัน
เนื้อหา
9.00-10.15 น.
1. ภาพรวมของ “The New Strategic Management”  และความสำคัญของ ดัชนีวัดผลสำเร็จธุรกิจ (KPIs)
 2. ระบบใหม่ของ “The New Six KPIs”  เป็นอย่างไร
     -แนวคิดของ 6 ดัชนีใหม่สำหรับการวัดกลยุทธ
     -กระบวนการคิดของ 6  ดัชนีใหม่สำหรับการวัดกลยุทธ
10.30-12.00น.
 3. “The New Six KPIs  method “ มีอะไรบ้าง
     - Sales from new sources: SFN
    -Time facing customers :TFC
    - Gain from processes : GFR
    - People responsibility level:PRL
   - Return on critical resource:ROC
   - Key project status:KPS
 (ตามแนวคิดของ George, P.M. & Hus, J.;2013)    
4.ตัวอย่าง ของ  6  ดัชนีใหม่สำหรับการวัดกลยุทธ
13.00-14.45 น
 5. วิธีการพัฒนา 6  ดัชนีใหม่สำหรับการวัดกลยุทธ
-แนวคิดและดัชนีใหม่วัดกลยุทธ              
15.00 -16.00น
6. การเปรียบเทียบระหว่าง KPIs ระบบเก่า กับ 6 ดัชนีใหม่
 -ความเหมือนและความแตกต่างในมิติการวัด
 -จาก KPIs สำหรับการวัด สู่การปฏิบัติ  

วิทยากร ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Line ID :thailand081
www.facebook.com/Innovation.th        
email: drdanait@gmail.com

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ทุก หลักสูตรบรรยายและดูแลการฝึกปฏิบัติโดย
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาธุรกิจ
 รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2552  ประเภท         
 นักวิชาการและที่ปรึกษา สถาบันทรัพยากรมนุษย์  ม.ธรรมศาสตร์
 ผู้อำนวยการโครงการ Human Capital  www.drdanai.blogspot.com
 กรรมการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลสำหรับผู้บริหารระดับกลาง
       สถาบันพระปกเกล้า    
 ที่ปรึกษาธุรกิจและองค์กรชั้นนำด้านวิสัยทัศน์  และการจัดทำกลยุทธ ด้วย BSC and KPIs

โทร 0818338505 
http://www.drdanai.blogspot.com